โรคเบาหวาน (Diabetes
Mellitus: DM, Diabetes) เป็นภาวะที่ร่างกายมีน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ
เนื่องจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) หรือการดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน
ส่งผลให้กระบวนการดูดซึมน้ำตาลในเลือดให้เป็นพลังงานของเซลล์ในร่างกายมีความผิดปกติหรือทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ
จนเกิดน้ำตาลสะสมในเลือดปริมาณมาก
หากปล่อยให้ร่างกายอยู่ในสภาวะนี้เป็นเวลานานจะทำให้อวัยวะต่าง ๆ เสื่อม
เกิดโรคและอาการแทรกซ้อนขึ้น
จากข้อมูลของสหพันธ์เบาหวานนานาชาติ
(International
Diabetes Federation, IDF) พบผู้ป่วยเบาหวานทั่วโลกราว 415 ล้านคนในปี 2558 และคาดการณ์ว่าจะมีจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคนี้มากถึง
642 ล้านคนในปี 2583 สำหรับสถานการณ์โรคเบาหวานในประเทศไทยพบว่า
คนไทยช่วงอายุ 20-79 ปี เป็นโรคเบาหวานร้อยละ 7.1 หรือหมายความว่า ในจำนวนคน 100 คน
จะพบคนที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานประมาณ 7 คน
และจำนวนมากกว่าครึ่งไม่ทราบว่าตนเองเป็นโรคเบาหวาน
สถิติการพบผู้ป่วยด้วยโรคนี้ยังมีจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ
จนทำให้ต้องมีการรณรงค์อย่างต่อเนื่องถึงภัยร้ายของโรค
เพราะเป็นโรคเรื้อรังที่รักษาไม่หายขาด
มีโอกาสเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนลุกลามใหญ่โตจนต้องสูญเสียอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย
ทางสหพันธ์เบาหวานนานาชาติ และองค์การอนามัยโลก (WHO) จึงได้กำหนดให้วันที่
14 พฤศจิกายนของทุกปีเป็นวันเบาหวานโลก
เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของโรคนี้
ในปัจจุบัน
ประเทศไทยยึดหลักเกณฑ์ตามสมาคมเบาหวานแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาในการจำแนกผู้ป่วยโรคเบาหวานด้วยการตรวจปริมาณน้ำตาลในเลือด
หากผลการตรวจหลังงดอาหารและเครื่องดื่มมีน้ำตาลอยู่กระแสเลือดไม่เกิน 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
แสดงว่าระดับน้ำตาลในเลือดปกติ ผู้ป่วยโรคเบาหวานจะมีระดับน้าตาลในเลือดหลังอดอาหาร
8 ชั่วโมง (fasting plasma glucose) สูงตั้งแต่
126 mg/dL ขึ้นไป ระดับน้าตาลในเลือดที่สูงขึ้นนี้จะส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญได้แก่
อาการแทรกซ้อนทางระบบหัวใจและหลอดเลือด ทั้งภาวะแทรกซ้อนต่อหลอดเลือดแดงขนาดเล็ก
(microvascular complications) และหลอดเลือดแดงขนาดใหญ่
(macrovascular complications)
โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นโรคเรื้อรังทางเมแทบอลิซึม
ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ โดยปัจจุบันมีจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่
2 หลายล้านคนทั่วโลก การรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ทำได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและการใช้ยา นอกจากนี้การใช้สมุนไพรและผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดยังเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่กำลังได้รับความสนใจอย่างมากในการรักษาโรคเบาหวาน
มะระขี้นก
ชื่อสามัญ Bitter gourd
มะระขี้นก
ชื่อวิทยาศาสตร์ Momordica charantia L. จัดอยู่ในวงศ์แตง
(CUCURBITACEAE)
ชื่ออังกฤษ Balsam
apple, Balsam pear, Bitter cucumber, Bitter gourd, Bitter melon, Carilla fruit
ชื่ออื่นๆ ผักไห่
มะไห่ มะนอย มะห่วย ผักไซ (เหนือ) สุพะซู สุพะเด (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) มะร้อยรู
มะระหนู (กลาง) ผักเหย (สงขลา) ผักไห (นครศรีธรรมราช) ระ (ใต้) ผักสะไล ผักไส่
ผักไซร้ (อีสาน) โกควยเกี๋ยะ โควกวย (จีน) มะระเล็ก มะระขี้นก (ทั่วไป)
ชาวปานามาเรียก บัลซามิโน่
มะระขี้นกมีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อนของเอเชียและทางตอนเหนือของแอฟริกาเขตร้อน
มะระขี้นกมีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อนของเอเชียและทางตอนเหนือของแอฟริกาเขตร้อน
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลำต้น เป็นเถาเลื้อยมีสีเขียวขนาดเล็กมี 5 เหลี่ยม มีขนอยู่ทั่วไป มีมือเกาะซึ่งเปลี่ยนมาจากใบเจริญออกมาจากส่วนของข้อ ใช้สำหรับยึดจับ
ลำต้น เป็นเถาเลื้อยมีสีเขียวขนาดเล็กมี 5 เหลี่ยม มีขนอยู่ทั่วไป มีมือเกาะซึ่งเปลี่ยนมาจากใบเจริญออกมาจากส่วนของข้อ ใช้สำหรับยึดจับ
ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับกัน ก้านใบยาว
ขอบใบเว้าหยักลึกเข้าไปในตัวใบ 5-7 หยัก ปลายใบแหลม
ใบกว้าง 4.5-11.5 เซนติเมตร ยาว 3.5-10 เซนติเมตร เส้นใบแยกออกจากจุดเดียวกันแล้วแตกเป็นร่างแห
มีขนอ่อนนุ่มปกคลุมเล็กน้อย เมื่อแก่จัดจะมีสีเขียวเข้ม
ดอก เป็นดอกเดี่ยวแยกเพศอยู่ในต้นเดียวกัน เจริญมาจากข้อ เส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5-3.5 เซนติเมตร มีกลีบนอก 5กลีบ สีเขียวปนเหลือง กลีบในมี 5 กลีบ สีเหลืองสด ดอกตัวผู้เจริญออกมาก่อนดอกตัวเมีย เกสรตัวผู้มี 3 อัน แต่ละอันมีก้านชูเกสรตัวผู้ 3 อัน และมีอับเรณู 3 อัน ดอกตัวเมียมีรังไข่แบบหลบใน (inferior ovary) มีรังไข่ 1 อัน stigma 3 คู่ ก้านชูเกสรตัวเมีย 3 อัน
ผล รูปร่างคล้ายกระสวยสั้นๆ ผิวเปลือกขรุขระและมีปุ่มยื่นออกมา ผลยาว 5-7 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางผล 2-4 เซนติเมตร ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่จะมีสีเหลืองอมแดง ปลายผลจะแตกเป็น 3 แฉก
เมล็ด มีรูปร่างกลม รี แบน ปลายแหลมสีฟางข้าว เมื่อแก่เต็มที่มีเมือกสีแดงสดห่อหุ้มเมล็ดอยู่
เนื่องจากพืชชนิดนี้เป็นผักพื้นบ้านธรรมชาติที่ขึ้นได้ทั่วๆ ไป นกจึงชอบมาจิกกินทั้งผลและเมล็ด จากนั้นก็ถ่ายเมล็ดไว้ตามที่ต่างๆ ถ้าเมล็ดได้ดินดีมีน้ำพอเหมาะก็จะงอก ผลิใบทอดลำต้นเลื้อยไปเกาะตามที่ๆ มันเกาะได้ เช่น ต้นไม้ใหญ่ แนวรั้วบ้าน เหตุนี้เองมะระลูกเล็กลูกนี้จึงถูกเรียกว่า "มะระขี้นก"
ดอก เป็นดอกเดี่ยวแยกเพศอยู่ในต้นเดียวกัน เจริญมาจากข้อ เส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5-3.5 เซนติเมตร มีกลีบนอก 5กลีบ สีเขียวปนเหลือง กลีบในมี 5 กลีบ สีเหลืองสด ดอกตัวผู้เจริญออกมาก่อนดอกตัวเมีย เกสรตัวผู้มี 3 อัน แต่ละอันมีก้านชูเกสรตัวผู้ 3 อัน และมีอับเรณู 3 อัน ดอกตัวเมียมีรังไข่แบบหลบใน (inferior ovary) มีรังไข่ 1 อัน stigma 3 คู่ ก้านชูเกสรตัวเมีย 3 อัน
ผล รูปร่างคล้ายกระสวยสั้นๆ ผิวเปลือกขรุขระและมีปุ่มยื่นออกมา ผลยาว 5-7 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางผล 2-4 เซนติเมตร ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่จะมีสีเหลืองอมแดง ปลายผลจะแตกเป็น 3 แฉก
เมล็ด มีรูปร่างกลม รี แบน ปลายแหลมสีฟางข้าว เมื่อแก่เต็มที่มีเมือกสีแดงสดห่อหุ้มเมล็ดอยู่
เนื่องจากพืชชนิดนี้เป็นผักพื้นบ้านธรรมชาติที่ขึ้นได้ทั่วๆ ไป นกจึงชอบมาจิกกินทั้งผลและเมล็ด จากนั้นก็ถ่ายเมล็ดไว้ตามที่ต่างๆ ถ้าเมล็ดได้ดินดีมีน้ำพอเหมาะก็จะงอก ผลิใบทอดลำต้นเลื้อยไปเกาะตามที่ๆ มันเกาะได้ เช่น ต้นไม้ใหญ่ แนวรั้วบ้าน เหตุนี้เองมะระลูกเล็กลูกนี้จึงถูกเรียกว่า "มะระขี้นก"
สภาพแวดล้อมในการผลิต
ดิน
สามารถขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิด แต่ดินที่ปลูกได้ผลดีที่สุด คือ ดินร่วนปนทราย
ซึ่งมีการระบายน้ำดีความเป็นกรดเป็นด่างของดินเป็นกรดเล็กน้อยถึงปานกลางแสงแดด
ชอบแสงแดดเต็มที่ตลอดวันความชื้น ในดินสูงสม่ำเสมอเพียงพออุณหภูมิช่วงที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง18
– 25 องศาเซลเซียส สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี
การเตรียมดิน
แปลงปลูก
มะระขี้นกเป็นผักที่มีระบบรากลึกปานกลาง ควรไถดินลึกประมาณ 20
– 25 เซนติเมตร ตากดินทิ้งไว้ 7 – 10 วันใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วเข้าไปให้มาก
เพื่อปรับปรุงสภาพทางกายของดิน แล้วยกร่องเล็ก ๆ ยาวไปตามพื้นที่่ระบบปลูก
นิยมระบบแถวคู่ระยะปลูก ระยะที่เหมาะสมคือ ระยะระหว่างต้น 50 – 75 เซนติเมตร และระยะระหว่างแถว 1 เมตร
วิธีปลูกและการปฏิบัติดูแลรักษา
หยอดเมล็ดโดยตรงลงในแปลง
หลุมละ 3 – 4 เมล็ด ลึกลงไปในดินประมาณ 2.5 – 3.5 เซนติเมตร ลบด้วยปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมักที่สลายตัวแล้ว หรือดินผสม
รดน้ำให้ชุ่ม คลุมฟางแห้งหรือหญ้าแห้งที่สะอาดให้หนาพอควร เมื่อต้นกล้ามีใบจริง2
ใบ ถอนแยกต้นที่อ่อนแอไม่สมบูรณ์ทิ้ง เหลือไว้หลุมละ 2 ต้นเมื่อมะระเริ่มเลื้อยหรือต้นมีอายุประมาณ 15 วัน
ควรทำค้างเพื่อให้ต้นเลื้อยเกาะขึ้นไป อาจทำได้ 2 แบบ คือ
แบบที่ 1 ปักไม้ค้างยาวประมาณ
2 – 2.5 เมตร ทุก ๆ หลุมแล้วเอนปลายเข้าหากัน
ผูกมัดปลายไว้ แล้วใช้ไม้ค้างพาดขวางประมาณ 2 – 3 ช่วง
แบบที่ 2 ปักไม้ค้างยาวประมาณ
2 – 2.5 เมตร ทุก ๆ ระยะ 1.5 – 2 เมตร ขนานกับแถวปลูก ใช้เชือกผูกขวางทุก ๆ ระยะ 30 เซนติเมตร
รวมทั้งผูกทะแยงไปมาด้วย (เมืองทอง, 2525)
การรดน้ำ
รดเช้า-เย็น ควรให้อย่างสม่ำเสมอ แต่ไม่ถึงกับเปียกแฉะ ไม่ควรขาดน้ำ
โดยเฉพาะช่วงออกดอกติดผล
การพรวนดิน
กำจัดวัชพืช ควรปฏิบัติในระยะแรก เมื่อต้นยังเล็กอยู่ เพื่อไม่ให้วัชพืช
ระวังอย่าให้กระทบกระเทือนถึงระบบราก
การให้ปุ๋ย
อายุประมาณ 15 วัน ควรให้ปุ๋ยยูเรีย หรือแอมโมเนียมซัลเฟต ประมาณ 5
ช้อนแกงต่อหลุม พรวนรอบ ๆ ต้นแล้วรดน้ำ
โรคที่สำคัญ
ได้แก่ โรคใบจุด โรคเหี่ยว
แหล่งที่สำคัญ
ได้แก่ แมลงวันทอง เพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน หนอนเจาะเถา หนอนเจาะยอด
การเก็บเกี่ยว
อายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 45 วัน เก็บผลที่ยังอ่อนอยู่
มะระขี้นก (Momordica
charantia L.) เป็นสมุนไพรที่ใช้กันมานานนับพันปี
ในเอเซีย อาฟริกา และละตินอเมริกา อายุรเวทใช้ผลมะระรักษาเบาหวาน โรคตับ
บรรเทาอาการโรคเก๊าต์และข้ออักเสบ ตำรายาไทยใช้ใบมะระในตำรับยาเขียวลดไข้
รากในตำรับยาแก้โลหิตเป็นพิษ และโรคตับ
สำหรับการแพทย์แผนไทย ประโยชน์ของมะระขี้นก
นอกเหนือจากการรักษาโรคเบาหวานแล้ว ยังช่วยรักษาโรคอื่น ๆ ได้อีก เช่น
ใช้เป็นยากระตุ้นการเจริญอาหาร บำรุงธาตุ ช่วยฝาดสมาน แก้บิด ริดสีดวงทวาร
ช่วยขับลม บำรูงธาตุเป็นยาระบาย แก้โรคลมเข้า ข้อเข่าบวม แก้โรคม้ามและพยาธิ
งานวิจัยสมุนไพรมะระขี้นกได้ดำเนินอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ ค.ศ. 1962 ซึ่ง Lotlika และ Rao ได้ค้นพบชาแรนตินในผลมะระ ที่แสดงฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของสัตว์ทดลอง ในปี 1965 Sucrow ได้พิสูจน์โครงสร้างเคมีของชาแรนติน พบว่าเป็นสารผสมของ sitosteryl- และ 5,25-stigmastadien-3-beta-ol-D-glucosides ในอัตราส่วน 1:1 ปี 1977 Baldwa และคณะ ได้แยกสารคล้ายอินซูลินจากผลมะระและมีฤทธิ์ลดน้ำตาล ในปี 1981 Khana และคณะได้พิสูจน์โครงสร้างของสารคล้ายอินซูลิน พบว่าเป็นโพลีเปปไทด์ที่มีน้ำหนักโมเลกุล 11,000 ดาลตัน และมีกรดอะมิโน 166 residues เรียกสารนี้ว่า โพลีเปปไทด์ พี สารขมกลุ่มคิวเคอร์บิตาซินซึ่งเป็น chemotaxonomic character ของพืชวงศ์ Cucurbitaceae คิวเคอร์บิตาซินในมะระ คือ momordicosides, momordicins, karaviloside K1 และ charantoside มีรายงานว่าสารขมดังกล่าวมีฤทธิ์ลดน้ำตาล ในมะระขี้นกมีสารหลายชนิดที่ต้านเบาหวาน และมีหลายกลไกที่ออกฤทธิ์ต้านเบาหวาน ได้แก่ เสริมการหลั่งอินซูลินจากตับอ่อน ลดการสร้างน้ำตาลจากตับ เสริมการเผาผลาญน้ำตาล เพิ่มความไวต่ออินซูลิน เพิ่มความทนต่อกลูโคส (glucose tolerance) นอกจากนี้ยังยับยั้งการหลั่งกลูโคสในลำไส้เล็ก และยับยั้งเอนไซม์กลูโคไซเดส น้ำคั้นจากผลมะระขี้นกแสดงฤทธิ์ต้านเบาหวานในกระต่ายและหนูขาว นอกจากนี้ยังมีรายงานว่ามะระสามารถชะลอความผิดปกติของไต การเกิดต้อกระจก การเสื่อมของเส้นประสาทซึ่งเป็นผลมาจากการที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน หรือไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลเลือดให้ปกติ การศึกษาทางคลินิกในผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน (8 คน) พบว่าผู้ป่วยทนต่อกลูโคสได้ดีขึ้น ลดระดับน้ำตาลขณะอิ่ม และลดความถี่ของการถ่ายปัสสาวะ จึงขอแนะนำผู้ป่วยเบาหวานบริโภคมะระขี้นกเป็นอาหาร หรือในรูปน้ำคั้นเป็นอาหารเสริม เพื่อช่วยรักษาระดับความดันเลือดให้ปกติ และชะลออาการต่างๆที่เป็นผลเสียจากโรคเบาหวานที่เป็นมานาน
งานวิจัยสมุนไพรมะระขี้นกได้ดำเนินอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ ค.ศ. 1962 ซึ่ง Lotlika และ Rao ได้ค้นพบชาแรนตินในผลมะระ ที่แสดงฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของสัตว์ทดลอง ในปี 1965 Sucrow ได้พิสูจน์โครงสร้างเคมีของชาแรนติน พบว่าเป็นสารผสมของ sitosteryl- และ 5,25-stigmastadien-3-beta-ol-D-glucosides ในอัตราส่วน 1:1 ปี 1977 Baldwa และคณะ ได้แยกสารคล้ายอินซูลินจากผลมะระและมีฤทธิ์ลดน้ำตาล ในปี 1981 Khana และคณะได้พิสูจน์โครงสร้างของสารคล้ายอินซูลิน พบว่าเป็นโพลีเปปไทด์ที่มีน้ำหนักโมเลกุล 11,000 ดาลตัน และมีกรดอะมิโน 166 residues เรียกสารนี้ว่า โพลีเปปไทด์ พี สารขมกลุ่มคิวเคอร์บิตาซินซึ่งเป็น chemotaxonomic character ของพืชวงศ์ Cucurbitaceae คิวเคอร์บิตาซินในมะระ คือ momordicosides, momordicins, karaviloside K1 และ charantoside มีรายงานว่าสารขมดังกล่าวมีฤทธิ์ลดน้ำตาล ในมะระขี้นกมีสารหลายชนิดที่ต้านเบาหวาน และมีหลายกลไกที่ออกฤทธิ์ต้านเบาหวาน ได้แก่ เสริมการหลั่งอินซูลินจากตับอ่อน ลดการสร้างน้ำตาลจากตับ เสริมการเผาผลาญน้ำตาล เพิ่มความไวต่ออินซูลิน เพิ่มความทนต่อกลูโคส (glucose tolerance) นอกจากนี้ยังยับยั้งการหลั่งกลูโคสในลำไส้เล็ก และยับยั้งเอนไซม์กลูโคไซเดส น้ำคั้นจากผลมะระขี้นกแสดงฤทธิ์ต้านเบาหวานในกระต่ายและหนูขาว นอกจากนี้ยังมีรายงานว่ามะระสามารถชะลอความผิดปกติของไต การเกิดต้อกระจก การเสื่อมของเส้นประสาทซึ่งเป็นผลมาจากการที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน หรือไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลเลือดให้ปกติ การศึกษาทางคลินิกในผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน (8 คน) พบว่าผู้ป่วยทนต่อกลูโคสได้ดีขึ้น ลดระดับน้ำตาลขณะอิ่ม และลดความถี่ของการถ่ายปัสสาวะ จึงขอแนะนำผู้ป่วยเบาหวานบริโภคมะระขี้นกเป็นอาหาร หรือในรูปน้ำคั้นเป็นอาหารเสริม เพื่อช่วยรักษาระดับความดันเลือดให้ปกติ และชะลออาการต่างๆที่เป็นผลเสียจากโรคเบาหวานที่เป็นมานาน
มะระขี้นก (สีเขียว)
มีคุณค่าทางอาหารเพราะมีวิตามินเอ (2,924
IU) ไนอะซิน (190 มก./100 ก) และมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ
วิธีการสกัดสารจากมะระขี้นก
วิธีการสกัดสารจากมะระขี้นก
การสกัดสารสำคัญจากมะระขี้นกสามารถทาได้โดยการใช้ตัวทาละลายหลายชนิด
แต่ที่นิยมมากที่สุดได้แก่การสกัดด้วยน้า และตัวทาละลายอินทรีย์ ซึ่งการใช้ตัวทาละลายที่แตกต่างกันจะได้สารสำคัญที่แตกต่างกัน
ดังการศึกษาของ Virdi และคณะ (2003) ซึ่งทาการศึกษาการสกัดสารสำคัญของมะระขี้นกด้วยตัวทาละลาย
3 ชนิดได้แก่ น้า, methanol และ
chloroform โดยการสกัดด้วยน้า ได้นาผลมะระขี้นกสด 0.5 กิโลกรัมหั่นเป็นชิ้น แช่น้าในอัตราส่วน 10 : 25 นาน
1 ชั่วโมงที่อุณหภูมิห้อง กรองแล้วระเหยจนแห้งแบบลดความดันจนได้สารที่มีความเข้มข้น
4.1% ของมะระขี้นกซึ่งการสกัดด้วยน้าจะได้ปริมาณสารสกัด (yield)
10 กรัม การสกัดด้วย methanol ทาโดยนาผลแห้งของมะระขี้นกจานวน
0.5 กิโลกรัมแช่ใน methanol ในอัตราส่วน
1 : 10 แล้วคนด้วยจังหวะสม่ำเสมอนาน 1 ชั่วโมงที่อุณหภูมิ
50 องศาเซลเซียส หลังจากนั้นทาการกรองแล้วระเหยจนได้ความเข้มข้นสารสกัดมะระขี้นก
5.6% ซึ่งจะได้สารสำคัญ (yield) 37 กรัม ส่วนการสกัดด้วย
chloroform จะทาคล้ายกับการสกัดด้วย methanol แล้วทาการระเหยจนได้
ความเข้มข้นสารสกัดมะระขี้นก 4.8% ซึ่งจะได้ปริมาณสารสกัด
(yield) 28 กรัม จะเห็นได้ว่าการใช้สารสกัดที่แตกต่างกันทาให้ได้ปริมาณสารสกัดที่แตกต่างกัน
นอกจากนี้สารสำคัญจากตัวทาละลายต่างชนิดกันก็มีประสิทธิภาพในการลดระดับน้าตาลในเลือดที่แตกต่างกันดังที่ได้มีรายงานในการศึกษาต่างๆ
ได้แก่
การสกัดมะระขี้นกด้วยน้าเปรียบเทียบกับ
chloroform (น้าจัดเป็นตัวทาละลายที่นิยมใช้ในการสกัดมะระขี้นกมากที่สุด)
ซึ่งการศึกษาที่ผ่านมาพบว่าสารสกัดมะระขี้นกด้วยน้ามีประสิทธิภาพดีกว่าตัวทาละลายอินทรีย์อื่นๆ
เช่น alcohol และ chloroform ดังการศึกษาของ
Ojewole และคณะ (2006) ซึ่งทาการศึกษาผลการลดระดับน้าตาลในเลือดโดยใช้สารสกัดมะระขี้นกด้วยน้า
ในหนูที่ถูกเหนี่ยวนาให้เป็นเบาหวานด้วยสาร streptozotocin แล้วใช้สารสกัดมะระขี้นกด้วย
chloroform เป็นกลุ่มควบคุม ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มที่ได้รับสารสกัดด้วยน้ามีประสิทธิภาพในการลดระดับน้าตาลในเลือดได้มากกว่าสารสกัดมะระขี้นกด้วย
chloroform อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เช่นเดียวกับการศึกษาของ
Bano (2011) ซึ่งทาการศึกษาผลของสารสกัดมะระขี้นกด้วยน้า
ในหนูที่ถูกเหนี่ยวนาให้อ้วนและมีระดับน้าตาลในเลือดสูง หลังจากให้หนูกินสารสกัดมะระขี้นกนาน
5 สัปดาห์พบว่า สารสกัดมะระขี้นกด้วยน้าไม่มีผลลดน้าหนักตัวของหนู แต่สามารถลดระดับน้าตาลในเลือดได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิต
ฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งอินซูลิน
การศึกษาของ Cummings และคณะ
(2004) ได้ทาการทดลองโดยให้หนูที่ถูกเหนี่ยวนาให้เป็นโรคเบาหวานกินสารสกัดมะระขี้นก
ซึ่งสกัดด้วย chloroform พบว่า สารสกัดมีฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งอินซูลินจาก Beta
cells ของตับอ่อนได้ และจากการศึกษาของ Ahmed และคณะ
(2004) พบว่าการให้น้าคั้นมะระขี้นกเป็นระยะเวลา
10 สัปดาห์ สามารถกระตุ้นการหลั่งอินซูลินในหนูที่ถูกเหนี่ยวนาให้เป็นเบาหวานด้วยสาร
streptozotocin (STZ) และยังพบว่าน้าคั้นมะระขี้นกมีฤทธิ์เพิ่มการนำกลูโคสเข้าเซลล์ได้อีกด้วย
ลดการดูดซึมน้าตาลกลูโคสเข้าสู่เซลล์บริเวณลาไส้เล็ก
สารสกัดมะระขี้นกด้วยน้ำและ methanol สามารถยับยั้งการทางานของเอนไซม์
alpha-glucosidase ได้แก่ เอนไซม์ maltase ซึ่งจะมีผลลดระดับน้ำตาลในเลือดหลังรับประทานอาหาร
(postprandial plasma glucose) จากการทดสอบ sucrose tolerance test พบว่าสารสกัดจากมะระขี้นกสามารถลดระดับน้าตาลในเลือดได้ภายใน
30 นาที โดยสารสกัดสามารถยับยั้งการทางานของเอนไซม์ sucrase ที่บริเวณ mucosa ของลำไส้
คุณค่าทางโภชนาการของผลมะระขี้นกต่อ
100 กรัม
- พลังงาน 19 กิโลแคลอรี
- คาร์โบไฮเดรต 4.32 กรัม
- น้ำตาล 1.95 กรัม
- เส้นใย 2 กรัม
- ไขมัน 0.18 กรัม
- โปรตีน 0.84 กรัม
- น้ำ 93.95 กรัม
- วิตามินเอ 6 ไมโครกรัม 1%
- เบตาแคโรทีน 68 ไมโครกรัม 1%
- ลูทีนและซีแซนทีน 1,323 ไมโครกรัม
- วิตามินบี 1 0.051 มิลลิกรัม 4%
- วิตามินบี 2 0.053 มิลลิกรัม 4%
- วิตามินบี 3 0.28 มิลลิกรัม 2%
- วิตามินบี 5 0.193 มิลลิกรัม 4%
- วิตามินบี 6 0.041 มิลลิกรัม 3%
- วิตามินบี 9 51 ไมโครกรัม 13%
- วิตามินซี 33 มิลลิกรัม 40%
- วิตามินอี 0.14 มิลลิกรัม 1%
- วิตามินเค 4.8 ไมโครกรัม 5%
- ธาตุแคลเซียม 9 มิลลิกรัม 1%
- ธาตุเหล็ก 0.38 มิลลิกรัม 3%
- ธาตุแมกนีเซียม 16 มิลลิกรัม 5%
- ธาตุแมงกานีส 0.086 มิลลิกรัม 4%
- ธาตุฟอสฟอรัส 36 มิลลิกรัม 5%
- ธาตุโพแทสเซียม 319 มิลลิกรัม 7%
- ธาตุโซเดียม 6 มิลลิกรัม 0%
- ธาตุสังกะสี 0.77 มิลลิกรัม 8%
มะระขี้นก จะมีรสขมมากกว่ามะระจีน
จึงเป็นที่นิยมสำหรับผู้สูงอายุ ด้วยการนำผลอ่อนไปต้มหรือเผากินทั้งลูก
แต่ถ้าเป็นผลแก่ก็ต้องนำมาคว้านเมล็ดออกเสียก่อน
สำหรับวิธีลดความขมของมะระขี้นกทำได้ด้วยการต้มน้ำให้เดือดจัด
ใส่เกลือประมาณหยิบมือ แล้วลวกมะระในน้ำเดือดสักครู่
ก็จะทำให้ลดความขมของมะระลงไปได้และยังคงมีผลสีเขียวสดอีกด้วย
มะระที่สุกแล้วจะมีสารซาโปนิน (Saponin) ในปริมาณมาก
การรับประทานอาจทำให้มีอาการอาเจียน ท้องร่วงได้ และอาจทำให้ถึงขั้นเสียชีวิต
เพราะฉะนั้นห้ามรับประทานแบบสุก ๆ
ตัวอย่างตำรับยาเบาหวาน
ประโยชน์ของมะระขี้นก
ราก แก้พิษ รักษาริดสีดวงทวาร ฝาดสมาน แก้พิษดับร้อน แก้บิด
ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด แผลฝีบวมอักเสบ ปวดฟันที่เกิดจากลมร้อนเถา ยาระบายอ่อน ๆ
แก้พิษทั้งปวง เจริญอาหาร แก้โรคลมเข้าข้อและเท้าบวม
แก้ปวดตามข้อมือและนิ้วมือนิ้วเท้า แก้โรคม้าม แก้โรคตับ ขับพยาธิในท้อง
แก้พิษน้ำดีพิการ ลดเสมหะ บำรุงน้ำดี แก้พิษดับร้อน แก้บิด แก้ฝีอักเสบ แก้ปวดฟัน
แก้ไข้
ใบ แก้ไข้ ดับพิษร้อน แก้ปากเปื่อยเป็นขุย ขับพยาธิ ขับระดู บีบมดลูก
ขับลม แก้ธาตุไม่ปกติ ทำให้นอนหลับ แก้ปวดศีรษะ แก้พิษ แก้ไอเรื้อรัง ยาระบายอ่อน
ๆ แก้เสียดท้อง บำรุงธาตุ ขับพยาธิเส้นด้าย ดับพิษฝีที่ร้อน รักษาแผล บำรุงน้ำดี
แก้ไข้หวัด ไข้ตัวร้อน ยาฟอกเลือด แก้ร้อนใน แก้ม้าม แก้ตับพิการ แก้ฟกบวมอักเสบ
แก้ปวดเนื่องจากลมคั่งในข้อ ทำให้อาเจียน แก้โรคกระเพาะ แก้บิด แผลฝีบวมอักเสบ
เจริญอาหาร ฟอกโลหิต รัดถานและถอนไส้ฝี
ดอก แก้พิษ แก้บิด
ผล แก้พิษฝี แก้ฟกบวม
แก้อักเสบ แก้โรคลมเข้าข้อ บำรุงน้ำดี ขับพยาธิ แก้ปากเปื่อย ปากเป็นขุย บำรุงระดู
ดับพิษร้อน ถ่ายท้อง แก้พิษ ขับลม แก้คัน แก้ธาตุไม่ปกติ แก้เสียดท้อง
แก้เจ็บปวดอักเสบ ระบายอ่อนๆ แก้บวม แก้โรคผิวหนัง บำบัดโรคเบาหวาน ยาบำรุง ทาหิด
ฝาดสมาน แก้โรคเม็ดผดผื่น คันในตัวเด็ก แก้พิษไข้ แก้หัวเข่าบวม แก้ปวดตามข้อ
แก้ม้าม แก้ตับพิการ เจริญอาหาร ใช้มากๆ เป็นยาถ่ายอย่างแรง รักษาโรคเรื้อน
บำรุงธาตุ แก้ไข้ แก้ปวดเจ็บอักเสบจากพิษต่างๆ ดับร้อน แก้ร้อนใน กระหายน้ำ ทำให้ตาสว่าง
แก้บิด ตาบวมแดง แผลบวม เป็นหนอง ต้านมะเร็ง
เมล็ด แก้พิษ
เป็นยากระตุ้นความรู้สึกทางเพศ เพิ่มพูนลมปราณ บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง ต้านมะเร็ง
ทั้งห้า
บำรุงน้ำดี ดับพิษทั้งปวง เจริญอาหาร บำรุงน้ำนม แก้ไข้
ตำรับยา ๑ : น้ำคั้นสด
นำผลมะระขี้นกสด ๘-๑๐ ผล นำเมล็ดในออก ใส่น้ำลงไปเล็กน้อย ปั่นให้ละเอียด กรองกากออกจะได้น้ำดื่มประมาณ ๑๐๐ มิลลิลิตร (หรือกินทั้งกากก็ได้) กินทุกวันติดต่อกัน แบ่งกินวันละ ๓ เวลา
ตำรับยา ๒ : ทำเป็นชา
นำเนื้อมะระผลเล็ก (มีตัวยามาก) ผ่านำเมล็ดออก หั่นเนื้อมะระเป็นชิ้นเล็กๆ ตากแดดให้แห้ง แล้วนำมาชงกับน้ำเดือด (มะระ ๑-๒ ชิ้น น้ำ ๑ ถ้วย) ดื่มเป็นน้ำชา ครั้งละ ๒ ถ้วย วันละ ๓ เวลา หรือจะต้มน้ำดื่มก็ได้ หรือใส่กระติกน้ำร้อนต้มดื่มเป็นกระติกปริมาณมากก็สะดวกดื่มไปเรื่อยๆ แทนน้ำเป็นเวลาประมาณ ๓ สัปดาห์ ไม่เกิน ๑ เดือนก็เห็นผลให้
ตำรับยา ๓ : ทำเป็นแคปซูลหรือลูกกลอน
กินมะระขี้นก ๕๐๐-๑,๐๐๐ มิลลิกรัม วันละ ๑-๒ ครั้ง
ข้อควรระวังคือ คนท้อง เด็กและคนที่มีน้ำตาลในเลือดต่ำไม่ควรกิน
ที่มา
https://www.doctor.or.th/article/detail/8931https://health.kapook.com/view5685.htmlผศ.ภก.วิระพล ภิมาลย์ .ผลของมะระขี้นกในรักษาโรคเบาหวาน: กลไกการออกฤทธิ์และประสิทธิภาพทางคลินิก .ค้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2561
http://www.panothaishop.com/product/30/
http://samuchathakon.blogspot.com/2016/11/55.htmlhttps://www.pookazza.com/index.php/th/option=com_content&view=article&id=333:pra-iti-piso-thong-chai&catid=62:buddha-mantra&Itemid=26
https://www.doctor.or.th/article/detail/11212
http://www.the-than.com/samonpai/sa_24.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น